นโยบายจัดการ Jitta Ranking
ระบบบริหารจัดการพอร์ตอัตโนมัติ ช่วยคุณรักษาแนวทางลงทุนแบบ Warren Buffett
และปรับพอร์ตอย่างมีวินัย
กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth คัดเลือกหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาวให้คุณ ด้วยเทคโนโลยี AI วิเคราะห์จัดอันดับ “หุ้นดีราคาถูก น่าลงทุน” ชื่อว่า Jitta Ranking ที่พัฒนาโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (Jitta.com)
ขั้นตอนการทำงาน
ตัวอย่างขั้นตอนบริหารจัดการพอร์ตตาม Jitta Ranking สำหรับการลงทุนในประเทศไทย สำหรับสหรัฐอเมริกาจะวิเคราะห์หุ้นทั้งหมดในตลาด NYSE กับ Nasdaq สำหรับเวียดนามจะวิเคราะห์หุ้นทั้งหมดในตลาด HOSE และ HNX สำหรับจีนจะวิเคราะห์หุ้นทั้งหมดในตลาด SSE และ SZSE สำหรับญี่ปุ่นจะวิเคราะห์หุ้นทั้งหมดในตลาด TSE
Jitta Ranking จะนำผลวิเคราะห์หุ้นทั้งหมดในแต่ละประเทศ มาจัดอันดับ “หุ้นดีราคาถูก น่าลงทุน” ตามหลักการ Warren Buffett โดยจะดูจาก 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ คุณภาพของธุรกิจ มูลค่าที่เหมาะสม และโอกาสเติบโตสร้างกำไรของธุรกิจ
จากนั้น ระบบของ Jitta Wealth จะเลือกหุ้นที่น่าลงทุนที่สุดตามการจัดอันดับของ Jitta Ranking ในวันที่คุณเริ่มลงทุน โดยเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสามารถซื้อขายได้
ระบบจะซื้อหุ้นแต่ละตัวในสัดส่วนใกล้เคียงกัน เพื่อกระจายความเสี่ยง และรีวิวหุ้นปรับพอร์ตทุกๆ 3 เดือน นับจากวันที่เริ่มลงทุน โดยซื้อขายหุ้นตาม Jitta Ranking ณ วันนั้น
ซึ่งเราจะดูว่าหุ้นที่ถืออยู่มีตัวไหนหลุดอันดับต้นๆ ของ Jitta Ranking ไปแล้ว ก็จะขายออก ในขณะเดียวกันก็จะซื้อหุ้นที่ติดอันดับตัวใหม่เข้ามาแทน ส่วนหุ้นที่ยังคงติด Jitta Ranking อยู่ ก็จะซื้อเพิ่มหรือขายออกด้วย เพื่อปรับสัดส่วนหุ้นทุกตัวในพอร์ตให้กลับมาใกล้เคียงกันที่สุดอีกครั้ง ทำแบบนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ ทุก 3 เดือน
แนวทางลงทุน
การลงทุนตาม Jitta Ranking ผ่านกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth เหมาะสมที่สุดสำหรับนักลงทุนที่
- ต้องการลงทุนในหุ้น เพื่อผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในระยะยาว
- สามารถลงทุนได้อย่างน้อย 3-5 ปี
- มีเวลาน้อย ไม่สามารถบริหารจัดการเองได้สม่ำเสมอเท่าที่ควร
Jitta Wealth จะกระจายเงินลงทุนของคุณในหุ้นบริษัทที่มีพื้นฐานดี ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่เหมาะสม โดยจะเลือกหุ้นเหล่านี้ด้วยอัลกอริทึม Jitta Ranking และแบ่งการลงทุนออกเป็นประเทศต่างๆ ดังนี้
แนวทางกระจายความเสี่ยงและปรับพอร์ต
เพื่อป้องกัน ไม่ให้พอร์ตของคุณได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากจนเกินไป เราจะบริหารจัดการความเสี่ยงให้คุณดังนี้
- จำนวนหุ้นที่ลงทุนอย่างน้อย 5 หุ้นในระยะเวลาหนึ่งๆ
- สัดส่วนการลงทุนในแต่ละหุ้นใกล้เคียงกันที่สุด
1. Jitta Wealth เลือกลงทุนในหุ้นดับต้นๆ ของ Jitta Ranking ประมาณ 5-20 ตัว เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนให้ได้มากที่สุด แต่ยังรักษาผลตอบแทนให้อยู่ในอัตราดี
ระบบบริหารจัดการพอร์ตของ Jitta Wealth จะกระจายเงินซื้อหุ้นโดยเน้นรักษาสมดุลของพอร์ตเป็นสำคัญ นั่นคือ สัดส่วนหุ้นแต่ละตัวในพอร์ตควรจะใกล้เคียงกันที่สุด พอร์ตมีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม และยังคงสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะเพิ่มทุนบ่อยครั้งแค่ไหน คุณก็มั่นใจได้ว่าเงินลงทุนจะไม่ไปกระจุกอยู่ในหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง
นอกจากการรักษาสัดส่วนของหุ้นแต่ละตัวให้เท่าๆ กันแล้ว การซื้อหุ้นหลายๆ ตัวก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางกระจายความเสี่ยงที่ได้รับการเผยแพร่โดยเบนจามิน เกรแฮม อาจารย์ของ Warren Buffett ผู้ริเริ่มแนวทางการลงทุนแนวเน้นคุณค่าเชิงปริมาณ เกรแฮมเชื่อว่าการนักลงทุนที่วิเคราะห์หุ้นจากงบการเงินย้อนหลังเป็นหลัก สามารถลดโอกาสขาดทุนได้มากยิ่งขึ้นอีก โดยการซื้อหุ้นจำนวนมาก อย่างน้อย 20-30 ตัว
แนวคิดนี้ได้รับการต่อยอดโดยโจเอล กรีนแบลตต์ ผู้คิดค้นสูตรลงทุน Magic Formula หรือ สูตรมหัศจรรย์
ในการทดสอบผลตอบแทนของ Magic Formula กรีนแบลตต์ก็เลือกซื้อหุ้นตามสูตรมาทั้งหมด 30 ตัวเพื่อกระจายความเสี่ยง และถือจนครบ 1 ปี ค่อยปรับพอร์ตตามสูตร 1 ครั้ง
ผลลัพธ์ที่ได้คือ อัตราผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ยต่อปี 19.7% เป็นเวลา 21 ปี ชนะดัชนี S&P500 ที่ทำได้เพียง 9.5% ต่อปีเท่านั้น
ในตลาดหุ้นไทย ก็มีดร. ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ที่ได้ลองใช้สูตร Magic Formula ซื้อขายหุ้น 30 ตัว ปรับพอร์ตปีละครั้ง กับตลาดหุ้นไทยช่วงปี พ.ศ. 2539-2553 ก็ได้ผลตอบแทน “มหัศจรรย์” เหมือนกัน
นั่นคือหลักการบริหารพอร์ตและกระจายความเสี่ยงที่ Jitta Wealth นำมาปรับประยุกต์ใช้กับการลงทุนตาม Jitta Ranking
2. การปรับพอร์ตทุกๆ 3 เดือน มีข้อดีที่สำคัญมาก คือ คุณจะได้ปรับพอร์ตตามงบการเงินล่าสุด ทำให้มีหุ้นที่ดีที่สุดอยู่ในพอร์ตตลอดเวลา แต่ก็ไม่บ่อยเกินไปจนทำให้คุณเสียค่าธรรมเนียมซื้อขายไปเปล่าๆ
วิกฤตตลาดหุ้นทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่กังวล ไม่กล้าลงทุนเพราะยังไม่รู้ว่าตลาดจะขึ้นหรือจะลง การปรับพอร์ตบ่อยขึ้นจะช่วยกระจายความเสี่ยงทางเวลา รับมือกับความไม่แน่นอนของตลาดหุ้นช่วงวิกฤตได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การปรับพอร์ตถี่จนเกินไปก็ใช่ว่าจะส่งผลดีต่อการลงทุน เพราะเมื่อคุณลงทุนตาม Jitta Ranking คุณได้ลงทุนในธุรกิจที่พื้นฐานดี และน่าจะมีโอกาสเติบโตไปนานๆ อยู่แล้ว การปรับพอร์ตทุกๆ 3 เดือน หลังจากงบการเงินล่าสุดออก จึงเป็นจังหวะที่เหมาะสมกำลังดี จะช่วยอัปเดตพอร์ตคุณให้มีหุ้นที่ดีที่สุด ณ เวลานั้น ตามพื้นฐานข้อเท็จจริง และผลตอบแทนย้อนหลังของ Jitta Wealth ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าการปรับพอร์ตทุก 3 เดือนนั้นเป็นระยะเวลาที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้สูงกว่าดัชนีตลาดในระยะยาว
ตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) รายปี
Jitta Wealth
SET TRI
2557
56.59%
19.09%
2558
10.18%
-11.23%
2559
31.07%
23.85%
2560
15.59%
17.30%
2561
-20.34%
-8.08%
2562
14.59%
4.29%
2563
12.44%
-5.24%
2564
36.82%
17.67%
2565
-10.57%
3.53%
2566
-8.10%
-12.66%
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
11.68%
4.03%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงิน 5 แสนถึง 1 ล้านบาท จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ที่ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนตามนโยบาย Jitta Ranking ในแต่ละประเทศ รวมส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) หักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี (Management Fee) ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission Fee) และค่าธรรมเนียมผู้รักษาทรัพย์สิน (Custodian Fee) แล้ว
ตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) รายปี
Jitta Wealth
CSI300 TR
2557
15.69%
55.84%
2558
59.99%
7.23%
2559
-4.93%
-9.25%
2560
33.41%
24.25%
2561
-30.14%
-23.64%
2562
40.44%
39.19%
2563
18.31%
29.89%
2564
14.67%
-3.51%
2565
-5.70%
-19.83%
2566
-6.38%
-8.25%
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
10.68%
6.32%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงิน 5 แสนถึง 1 ล้านบาท จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ที่ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนตามนโยบาย Jitta Ranking ในแต่ละประเทศ รวมส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) หักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี (Management Fee) ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission Fee) และค่าธรรมเนียมผู้รักษาทรัพย์สิน (Custodian Fee) แล้ว
ตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) รายปี
Jitta Wealth
HSI TR
2557
14.68%
5.31%
2558
27.36%
-3.92%
2559
41.61%
4.28%
2560
49.13%
41.27%
2561
-7.98%
-10.55%
2562
39.50%
13.01%
2563
26.42%
-0.23%
2564
18.71%
-11.84%
2565
-4.92%
-12.56%
2566
6.73%
-8.69%
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
19.68%
0.57%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงิน 5 แสนถึง 1 ล้านบาท จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ที่ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนตามนโยบาย Jitta Ranking ในแต่ละประเทศ รวมส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) หักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี (Management Fee) ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission Fee) และค่าธรรมเนียมผู้รักษาทรัพย์สิน (Custodian Fee) แล้ว
ตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) รายปี
Jitta Wealth
TOPIX TRI
2557
21.29%
10.28%
2558
-2.90%
12.07%
2559
-10.82%
0.31%
2560
52.46%
22.23%
2561
-29.01%
-15.99%
2562
30.72%
18.12%
2563
-0.12%
7.41%
2564
41.31%
12.77%
2565
5.00%
-2.84%
2566
44.28%
27.34%
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
12.26%
8.47%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงิน 5 แสนถึง 1 ล้านบาท จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ที่ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนตามนโยบาย Jitta Ranking ในแต่ละประเทศ รวมส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) หักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี (Management Fee) ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission Fee) และค่าธรรมเนียมผู้รักษาทรัพย์สิน (Custodian Fee) แล้ว
ตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) รายปี
Jitta Wealth
S&P 500 TRI
2557
17.06%
13.69%
2558
3.64%
1.38%
2559
31.13%
11.96%
2560
18.46%
21.83%
2561
-14.18%
-4.38%
2562
25.15%
31.49%
2563
-5.63%
18.40%
2564
48.28%
28.71%
2565
-14.39%
-18.11%
2566
40.68%
26.29%
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
13.06%
12.03%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงิน 5 แสนถึง 1 ล้านบาท จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ที่ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนตามนโยบาย Jitta Ranking ในแต่ละประเทศ รวมส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) หักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี (Management Fee) ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission Fee) และค่าธรรมเนียมผู้รักษาทรัพย์สิน (Custodian Fee) แล้ว
ตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) รายปี
Jitta Wealth
VNI TR
2557
13.69%
12.47%
2558
9.56%
10.13%
2559
28.48%
18.57%
2560
29.97%
52.33%
2561
-11.88%
-7.54%
2562
6.58%
9.80%
2563
67.64%
17.01%
2564
57.71%
37.36%
2565
-36.83%
-31.75%
2566
12.64%
14.13%
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
13.90%
11.02%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงิน 5 แสนถึง 1 ล้านบาท จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ที่ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนตามนโยบาย Jitta Ranking ในแต่ละประเทศ รวมส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) หักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี (Management Fee) ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission Fee) และค่าธรรมเนียมผู้รักษาทรัพย์สิน (Custodian Fee) แล้ว
ตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) รายปี
Jitta Wealth
CSI300 TR
2557
8.00%
55.84%
2558
105.45%
7.23%
2559
-11.58%
-9.25%
2560
25.59%
24.25%
2561
-37.05%
-23.64%
2562
75.48%
39.19%
2563
75.10%
29.89%
2564
29.91%
-3.51%
2565
-22.92%
-19.83%
2566
-26.69%
-8.25%
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
13.34%
6.32%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงิน 5 แสนถึง 1 ล้านบาท จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ที่ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนตามนโยบาย Jitta Ranking ในแต่ละประเทศ รวมส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) หักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี (Management Fee) ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission Fee) และค่าธรรมเนียมผู้รักษาทรัพย์สิน (Custodian Fee) แล้ว
ตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) รายปี
Jitta Wealth
S&P 500 TRI
2557
26.01%
13.69%
2558
4.28%
1.38%
2559
12.33%
11.96%
2560
20.49%
21.83%
2561
-20.91%
-4.38%
2562
23.24%
31.49%
2563
43.18%
18.40%
2564
21.37%
28.71%
2565
-0.32%
-18.11%
2566
23.97%
26.29%
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
14.05%
12.03%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงิน 5 แสนถึง 1 ล้านบาท จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ที่ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนตามนโยบาย Jitta Ranking ในแต่ละประเทศ รวมส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) หักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี (Management Fee) ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission Fee) และค่าธรรมเนียมผู้รักษาทรัพย์สิน (Custodian Fee) แล้ว
ตารางแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) รายปี
Jitta Wealth
S&P 500 Health Care Index TR
2557
31.37%
24.72%
2558
13.18%
6.38%
2559
0.78%
-3.19%
2560
41.82%
21.45%
2561
3.44%
5.93%
2562
3.61%
20.18%
2563
38.28%
12.84%
2564
12.64%
25.54%
2565
-21.64%
-2.44%
2566
11.01%
1.53%
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
11.93%
10.79%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงิน 5 แสนถึง 1 ล้านบาท จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ที่ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน อัปเดต ณ วันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุนตามนโยบาย Jitta Ranking ในแต่ละประเทศ รวมส่วนต่างราคา (Capital Gain) และเงินปันผล (Dividend) หักค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี (Management Fee) ค่าธรรมเนียมตามกำไร (Performance Fee) ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission Fee) และค่าธรรมเนียมผู้รักษาทรัพย์สิน (Custodian Fee) แล้ว
นอกจากนี้ การปรับพอร์ตหรือซื้อขายหุ้นแต่ละครั้งมีต้นทุนค่าใช้จ่าย เป็นค่าคอมมิชชั่นที่คุณจะต้องเสียให้กับนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือโบรคเกอร์
ยิ่งซื้อขายมาก ก็ยิ่งเสียค่าธรรมเนียมมาก
และหากการซื้อขายมากครั้ง ไม่ได้สร้างกำไรที่คุ้มค่าอย่างสม่ำเสมอ ก็เท่ากับว่าคุณกำลังเสียค่าธรรมเนียมไปเปล่าๆ
สมมุติคุณปรับพอร์ตเฉลี่ยเดือนละครั้ง เท่ากับว่าคุณจะเสียค่าคอมมิชชั่นประมาณ 4-5% ต่อปี โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าปีนั้นจะกำไรหรือไม่
นั่นหมายความว่า คุณจะต้องทำกำไรให้ได้อย่างน้อยปีละ 4% ถึงจะคุ้ม ซึ่งการทำกำไรให้ได้ทุกๆ ปีเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะอย่างที่ทราบดีอยู่แล้วว่าตลาดมีความผันผวน หุ้นขึ้นบ้าง ลงบ้าง ส่งผลให้พอร์ตของคุณมีความผันผวน อาจจะติดลบ หรือทำกำไรไม่ถึง 4% บ้างในบางปี
การลดจำนวนครั้งการซื้อขายหุ้น จึงลดค่าใช้จ่ายที่จะกัดกินผลกำไรของคุณออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การปรับพอร์ตทุกๆ 3 เดือนนั้นจึงเป็นการ “เฝ้าดู” อย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ แม้ว่าจะเกิดวิฤตเศรษฐกิจ ก็จะไม่ผลีผลาม ยังคงรักษาวินัยการลงทุนตามหลักการเดิม
ในระยะยาวแล้วเราเชื่อว่า เงินลงทุนในตลาดหุ้นจะยังคงเติบโตได้เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตอะไรกับโลกใบนี้ก็ตาม
เพราะตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปี 2560 ทั้งหมด 43 ปี ให้ผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ย +11.87% ต่อปี
ถ้าคุณลงทุนในตลาดหุ้นไทยปี 2518 ทั้งสิ้น 10,000 บาท ปี 2560 เงินคุณจะเพิ่มเป็น 1,243,314 บาท หรือ 124 เท่า
หรือถ้าคุณลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ $1 ในปี 2443 เงินคุณจะเติบโตเป็น $39,000 ในปี 2016 หรือโตขึ้นถึง 39,000 เท่า
นั่นคือผลตอบแทนของคุณ แม้ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำ เงินเฟ้อจะสูง สงครามโลกจะอุบัติถึง 2 รอบ ต้มยำกุ้งจะเกิด การเงินในละตินอเมริกาจะล่มสลาย ฟองสบู่ดอทคอมจะแตก หรือแฮมเบอร์เกอร์จะลามไปทั่วโลก…
สุดท้ายแล้วตลาดก็ยังคงเติบโต เงินคุณก็ยังเพิ่มขึ้น เพราะธุรกิจและเศรษฐกิจเติบโตนั่นเอง
จากผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้นทั้งไทยและสหรัฐฯ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คุณคุณคาดเดาราคาหุ้นในช่วงเวลา 2-3 ปีไม่ได้
แต่คุณคาดการณ์ผลตอบแทนของตลาดหุ้นในระยะยาวได้ค่อนข้างแม่นยำ ว่ามันจะเติบโต เพราะผลตอบแทนจากตลาดหุ้นจะเท่ากับผลตอบแทนจากธุรกิจในตลาดหุ้นรวมกันเสมอ
ดังนั้น ถ้าคุณตั้งใจลงทุนอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไปแล้ว คุณสามารถคาดหวังผลตอบแทนประมาณ 8-10% ต่อปีโดยเฉลี่ย
ไม่มีความจำเป็น ที่คุณต้องกังวลว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะทำคุณขาดทุนในระยะยาว
เพียงรักษาวินัยการลงทุนให้ดี ลงทุนอย่างสม่ำเสมอในหุ้น อย่างที่ Jitta Wealth จะจัดการบริหาร ปรับพอร์ตให้คุณทุกๆ 3 เดือนไปเรื่อยๆ ไม่ขายหุ้นระหว่างทางแม้เกิดวิกฤตใดๆ
แต่…ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น หากพบว่าธุรกิจที่คุณลงทุนอยู่นั้นมีการทุจริต อย่างการแต่งบัญชี หรือถูกก.ล.ต. เพิกถอนคุณสมบัติ เป็นต้น Jitta Wealth ก็จะรีบขายหุ้นตัวนั้น และซื้อหุ้นตัวใหม่ให้คุณตาม Jitta Ranking ทันที
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถปล่อยเงินลงทุนเติบโตได้อย่างสบายใจ
แนวทางบริหารจัดการกรณีพิเศษ
การลงทุนตาม Jitta Ranking กับกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth เป็นการลงทุนโดยใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลงบการเงินย้อนหลังอย่างน้อย 10 ปีเป็นหลัก
แต่ในระหว่างการลงทุน อาจมีเหตุการณ์บางอย่างที่จำเป็นต้องบริหารจัดการเพิ่มเติมจากนโยบายการลงทุนที่เราได้วางไว้
เราจึงได้จัดทำนโยบายในการบริหารจัดการกรณีต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
กรณีประชุมผู้ถือหุ้น (XM):
ทาง Jitta Wealth ไม่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุม และใช้สิทธิออกเสียง (Proxy Voting) แทนคุณ
กรณีเพิ่มทุน (XR):
Jitta Wealth จะไม่ใช้สิทธิเพิ่มทุน เพื่อรักษาสัดส่วนที่เหมาะสมของการลงทุน นอกจากนี้ ตามหลักการแล้วคุณควรเพิ่มทุนในหุ้น ที่ยังรักษามาตรฐาน “หุ้นดีราคาถูก น่าลงทุน” แต่หุ้นที่เพิ่มทุน (XR) อาจจะไม่ใช่หุ้นที่พื้นฐานดี น่าลงทุนที่สุดอีกต่อไปแล้วก็ได้
กรณีปันผลเป็นเงินสด (XD)
Jitta Wealth จะนำเงินกลับไปลงทุนใหม่
กรณีปันผลเป็นหุ้น [XD(ST)]
Jitta Wealth จะถือหุ้นต่อไปจนกว่าจะมีการปรับพอร์ตการลงทุน
กรณีออกใบแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) (XW)
Jitta Wealth จะขาย warrant โดยไม่รอใช้สิทธิแปลงสภาพ เนื่องจากเราไม่รู้ว่าในวันที่ต้องแปลงสภาพหุ้นนั้น เราจะยังมีเงินสดเพียงพอสำหรับการแปลงสภาพหรือไม่ และไม่รู้ด้วยว่าพื้นฐานของหุ้นในวันนั้นจะยังเป็น “หุ้นดีราคาถูก น่าลงทุน” อยู่หรือเปล่า
กรณีหุ้นไม่สามารถซื้อขายได้ เช่น ขึ้นเครื่องหมาย SP หรือ NP
Jitta Wealth จะถือหุ้นต่อไปจนกว่าหุ้นจะสามารถขายได้
กรณีหุ้นถูกบริษัทขอซื้อคืนทั้งหมด (Tender Offer)
หากราคาที่เสนอซื้อสูงกว่าราคาตลาด Jitta Wealth จะใช้สิทธิขายหุ้นทั้งหมด แต่หากราคาที่เสนอซื้อต่ำกว่าราคาตลาดจะพิจารณาเป็นกรณี
หมายเหตุและข้อมูลอ้างอิง
1อ้างอิง Greenblatt, J. (2553). Afterword to the 2010 Edition. The Little Book that Still Beats the Market (หน้า 155). Hoboken, New Jersey: Wiley.
2อ้างอิง เหมวชิรวรากร, ดร. นิเวศน์. (2559). Magic Formula. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก http://www.thaivi.org/magic-formula
3อ้างอิง เหลืองสมบูรณ์, ตราวุทธิ์. (2562). เวลาที่ดีที่สุดในการลงทุน. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก https://passiveway.com/best-time-to-invest
4อ้างอิง Royal, J. Ph.D. & O’Shea, Arielle. (2019). What Is the Average Stock Market Return?. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562 จาก https://www.nerdwallet.com/blog/investing/average-stock-market-return